วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การจัดการความรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

การจัดการความรู้
เรื่อง  กระบวนการทำงานของคณะทำงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา
บ้านมาบบอน  หมู่ที่ ๓  ตำบลหนองปลาไหล   อำเภอบางละมุง  จังหวัดชลบุรี
จัดเก็บเมื่อวันที่      กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
...................................
วัตถุประสงค์
          ๑. เพื่อต้องการทราบบทเรียนของทีมแกนนำหมู่บ้านในการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเฉลิมพระเกียรติ  ๘๔  พรรษา
          ๒. เพื่อต้องการทราบถึงขั้นตอน/วิธีการทำงานของผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเฉลิมพระเกียรติ  ๘๔ พรรษา

เครื่องมือที่ใช้ในการจัดเก็บ  AAR





ผู้เอื้ออำนวยกระบวนการเรียนรู้
          ๑.นางธนพร       เผ่าพงษ์          นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ (พัฒนากรผู้ประสานงานตำบล)
          ๒.นายถนอมศักดิ๋  ผาติเสนะ       ปราชญ์ชาวบ้าน
          ๓.นายวสันต์       เข้มแข็ง         ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน


 




ทีมวิทยากรฝึกอบรมให้ความรู้ การทำจุลินทรีย์น้ำ จุลินทรีย์แห้ง ฮอร์โมนผลไม้ และปลูกผักสวนครัว เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน และสามารถนำไปประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตรและการดำรงชีวิต






                                                - ๒ -
ทีมแกนนำหมู่บ้าน ๔ คน
          ๑. นายจบ                 บุญก่อ            ผู้ใหญ่บ้าน (กำนัน)
          ๒. นายประกอบ           บุญก่อ            ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
          ๓. นางสาวจิดาภา         บุญเสมอ          ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนตำบลหนองปลาไหล
          ๔. นางสาววรินธร         บุญเสมอ          สมาชิก อบต.

ภาคีการพัฒนา
          ๑. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลาไหล
          ๒. สำนักงานเกษตรอำเภอบางละมุง
          ๓. สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางละมุง

ขั้นตอนในการจัดเวที
          ๑. เปิดการประชุม แนะนำผู้ที่เกี่ยวข้อง
                   - ทีมผู้เอื้ออำนวยกระบวนการเรียนรู้/แกนนำของหมู่บ้าน
                   - ภาคีที่เกี่ยวข้อง
          ๒. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดเวที
          ๓. จัดเก็บความรู้ตามประเด็นที่กำหนดในเครื่องมือ

















                                                          - ๓ -


๑. ผลงานที่เราคาดหวังจะให้เกิดขึ้น
๒. สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร
 - ประหยัดรายจ่าย  สามารถทำเองได้
 - การรวมกลุ่มของชาวบ้าน ที่นำมาซึ่งความรัก  ความสามัคคี การปรองดอง
 - ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น
 - ลด เลิก การใช้ปุ๋ยเคมี
 - ปลูกผักปลอดสารพิษ
- ใช้จุลินย์น้ำ จุลินทรีย์แห้ง และฮอร์โมนผลไม้  ในการทำการเกษตร

 - ครัวเรือนมีการจัดทำบัญชีรับ จ่าย
- ครัวเรือนปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้รับประทาน
และแบ่งปัน
- ชุมชนเกิดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้
 - ใช้จุลินย์น้ำ จุลินทรีย์แห้ง และฮอร์โมนผลไม้  ในการทำการเกษตร
 - คนในชุมชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น

 ๓. สิ่งที่เกิดขึ้นเหมือนหรือต่างจากที่เราคาดหวังไว้อย่างไร ทำไมถึงต่างหรือเหมือน สิ่งที่เหมือน
๔. เราได้เรียนรู้อะไรจากการทำงานที่ผ่านมาเพื่อใช้เป็นบทเรียนครั้งต่อไป
 - ทำให้เกิดการออมทรัพย์
 - การผลิตจุลินย์น้ำ จุลินทรีย์แห้ง และฮอร์โมนผลไม้  ใช้ในการเกษตร
- ครัวเรือนปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้รับประทานและแบ่งปัน
 - การเกษตรบางอย่างใช้สารเคมี
 - มีการนำองค์ความรู้ไปเผยแพร่/ เป็นวิทยากร
   ถ่ายทอดองค์ความรู้

 - ความเสียสละของกลุ่มผู้นำในชุมชนที่ทำให้เห็นเป็นตัวอย่างก่อน แล้วคนอื่นๆ ในชุมชนจะทำตาม
 - ผู้นำหมู่บ้านให้ความร่วมมือ/ประชาสัมพันธ์ให้ครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาต่างๆของชุมชน
 - กรรมการ/ผู้นำชุมชนมีการสื่อสารถึงกันตลอดเวลา
 - ใช้หลักการผสมผสาน ค่อย ๆ นำแนวทางใหม่มาปรับใช้ในชุมชน
 - ได้น้อมนำแนวทางหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาดำรงชีวิต
















                                                          - ๔ -

เก็บตกจากเวทีสรุปบทเรียน

๑. จุดเริ่มต้นของการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา
๑.๑ ต้องการทำผลิตภัณฑ์ใช้ในครัวเรือนแทนการซื้อจากภายนอกชุมชน
๑.๒ สุขภาพของคนชุมชนเริ่มเสื่อมลง
๑.๓ ต้องการให้ครัวเรือนปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภค
๑.๔ สินค้าอุปโภค บริโภคราคาแพง
๒. ปัจจัยที่ทำให้หมู่บ้านประสบความสำเร็จ
          ๒.๑ ความมีอุดมการณ์ร่วมกันของชุมชน
          ๒.๒ สามารถใช้เวทีต่าง ๆ ในการพูดคุยได้
          ๒.๓ ความเสียสละของผู้นำชุมชน
          ๒.๔ ใช้กิจกรรมในชุมชนเป็นตัวเชื่อมความสามัคคี
          ๒.๕ ให้ความสำคัญกับหน่วยงานราชการต่าง ๆ
๓. เทคนิค/เรื่องต่าง ๆ ที่ชุมชนอยากจะรู้เพิ่มเติม
          ๓.๑ การทำบัญชีรับ จ่ายของครัวเรือน
          ๓.๒ การทำน้ำส้มควันไม้ที่ได้จากการเผาถ่าน
          ๓.๓ การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ
          ๓.๔ การทำแก๊สชีวภาพเพื่อใช้หุงต้มภายในครัวเรือน
๔. สิ่งที่ชุมชนอยากจะทำต่อไป
          ๔.๑ ทุกครัวเรือนปลูกผักปลอดสารพิษ/เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง
          ๔.๒ จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ เช่น ป้ายหมู่บ้าน
          ๔.๓ ลดการใช้สารเคมี ลดต้นทุนการผลิตในการทำการเกษตร และการดำรงชีวิต
๕. สิ่งที่อยากจะบอกกับหมู่บ้านอื่น
          ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม การประชาคม และปรับปรุงแผนชุมชน เพื่อพัฒนาชุมชนของตนเอง

.......................................................
         



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น